วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567 ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ

ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ

ระหว่างวันที่ 23 – 25 เมษายน 2567

ณ ห้องประชุมอภัย จันทวิมล อาคารเสมารักษ์ ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2567 ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมี ดร.อำนาจ สายฉลาด ผู้อำนวยการสำนักาการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน เป็นผู้กล่าวรายงาน

โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติ สร้างขวัญและกำลังใจสำหรับผู้มีผลงงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์และเป็นแบบอย่างที่ดีทางการลูกเสือ
  2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนให้สนับสนุนกิจกรรมลูกเสือของกระทรวงศึกษาธิการ
  3. เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเกิดความภาคภูมิใจและมีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนากิจกรรมลูกเสือ

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรวงคุณวุฒิทางการลูกเสือ ผู้แทนจากกรมส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักนโยบายและยุธศาสตร์ สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลการทางการลูกเสือ จากสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 46 คน

ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  กล่าวถึง แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาลูกเสือ ภายใต้แผนการพัฒนาลูกเสือไทย พ.ศ. 2567-2570 ในการประชุมสภาลูกเสือไทยประจำปี 2567  เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 คือ ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนากิจกรรมลูกเสือ (Scout Activities)  โดยส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนากิจกรรมลูกเสือ ในทุกมิติและทุกภาคส่วน พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือให้มีสมรรถนะ เป็นมืออาชีพ ส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เน้นการฝึกฝน อบรม ไม่ใช้กระบวนการเรียนการสอน เป็นโปรแกรมการฝึกอบรมที่จำเป็นสำหรับเด็กและเยาวชน ให้ได้กระทำ หรือฝึกด้วยการปฏิบัติจริงที่ก้าวหน้า ทันการณ์ สนุกสนาน ดึงดูดใน เกิดความภาคภูมิใจเหมาะกับช่วงวัย ทั้งประโยชน์อันพึงจะได้รับจากปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์  แก่ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ภายใต้การขับเคลื่อนการศึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง “เรียนดี มีความสุข” และการขับเคลื่อนกิจกรรมลูกเสือ “ลูกเสือช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ” และ “ทำดี ทำได้ ทำทันที” จึงจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ สถานศึกษา ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรทางการลูกเสือ ลูกเสือ เนตรนารี ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เล็งเห็นความสำคัญของกิจการลูกเสือ และเชื่อมั่นว่ากิจกรรมลูกเสือจะสามารถพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้เป็นคนดี คนเก่ง และเป็นที่พึงประสงค์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป